บทความ

วิธีป้องกันและแก้อาการท้องผูกหรือถ่ายยาก

อาการท้องผูกคืออาการที่เวลาปวดท้องรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระแต่ถ่ายไม่ออกนอกจากนี้เวลาถ่ายจะเจ็บทวารหนักด้วย ที่เป็นอย่างนี้เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นไปตกค้างอยู่เป็นเวลานานเกินไปจนทำให้อุจจาระแข็งและแห้งทำให้ลำบากในการขับถ่ายออกมา สาเหตุของอาการท้องผูกปกติจะเกิดจากการกินอาหารในปริมาณน้อยเกินไปหรือละเอียดมากๆจนไม่มีเส้นใยอาหารเหลืออยู่เลย หรือบางทีเกิดจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือไม่ได้ถ่ายในตอนเช้าแล้วปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการท้อผูกได้อาการท้องผูกมีทั้งวิธีป้องกันและวิธีแก้ วิธีป้องกันอาการท้องผูกหรือถ่ายยาก พยายามกินอาหารให้เป็นเวลาและควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยร่วมด้วยอย่ารับประทานเนื้อสัตว์กับอาหากจำพวกแป้งเท่านั้น กล่าวคือในอาหารต้องมีเมนูผักอยู่ด้วยเสมอและควรรับประทานผลไม้ด้วย เพราะผักและผลไม้มีเส้นใยซึ่งช่วยในการขับถ่ายได้ดี นอกจากนี้ยังควรนอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลาไม่นอนดึกเกินไปและตื่นให้เป็นเวลาเมื่อตื่นนอนตอนเช้าควรดื่มน้ำสักแก้วหรือสองแก้วเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย วิธีแก้อาการท้องผูกหรือถ่ายยาก หากท่านปวดท้องเข้าห้องน้ำแต่ถ่ายไม่ออกก็อย่าเพิ่งไปฝืนถ่ายเพราะจะท

แกงเผ็ดเนื้อ

แกงเผ็ดเนื้อเป็นอาหารยอดนิยมและอร่อยอีกชนิดหนึ่งในบรรดาแกงเผ็ดต่างๆของชาวปักษ์ใต้ เพราะให้รสชาติที่อร่อยเนื่องจากเครื่องเทศต่างๆที่ใช้ปรุงรสและผักสดต่างๆที่รับประทานร่วมกัน หากท่านใดสนใจ อยากลองชิมแกงเผ็ดเนื้อจากการปรุงของตัวเองลองปรุงตามสูตรข้างล่างนี้ได้ครับ เครื่องปรุง เนื้อวัวหั่นเป็นชิ้น  300 กรัม พริกแห้ง 20-30 เม็ด กระเทียมปอกเปลือก 3-4 กลีบ ขมิ้นปอกเปลือก 2-3 แง่งเล็กๆ ตะไคร้หั่นเป็นแว่นเล็กๆ 1 ต้น พริกไทยแห้ง 10 เม็ด กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ เกลือ ½ ช้อนโต๊ะ กะทิคั้น   300 กรัม มะเขือเปราะ 300 กรัม น้ำตาล ½ ช้อนชา ใบมะกรูด 3 ใบ วิธีเตรียมเครื่องแกง นำพริกแห้ง กระเทียม ขมิ้นและ พริกไทยแห้ง ล้างน้ำให้สะอาดแล้วใส่ครกหินใส่ตะไคร้และเกลือตำรวมกันจนละเอียดแล้วใส่กะปิตำคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง วิธีปรุง เทกะทิใส่หม้อแกงตั้งไฟรอจนกะทิเดือดให้ใส่เครื่องแกงลงไปหรือจะใส่ไปพร้อมกันก็ได้แล้วคนคลุกเคล้าให้เข้ากันพอน้ำแกงเดือด ใส่เนื้อลงไปพอเนื้อใกล้สุกใส่มะเขือเปราะลงไปจนมะเขือเปื่อยตักน้ำแกงชิมดูหากยังไม่ถึงเกลือหรือรสชาติยังไม่กลมกล่อมก็เติมเกลือ

วิธีปรุงแจ่ว

แจ่ว เป็นอาหารชนิดหนึ่งของทางอีสานที่มีลักษณะคล้ายน้ำจิ้มของทางภาคอื่นๆเพียงแต่มีวิธีการปรุงและเครื่องปรุงที่พิเศษเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ในมื้ออาหารประจำวันของชาวอีสานมักมีแจ่วร่วมอยู่ด้วยเสมอเพราะสามารถนำอาหารอื่นๆทั้งปลา ไก่ เนื้อ และผักหรือแม้แต่ข้าวเหนียวมาจิ้มกับแจ่วได้ทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น ดูส่วนผสม เครื่องปรุงและวิธีปรุงแจ่วอาหารพื้นเมืองของชาวอีสาน ได้ดังนี้ครับ เครื่องปรุง ปลาร้าปลากระดี่ 5 ตัว พริกขี้หนูคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ปลาป่นคั่วใหม่ๆ 1 ช้อนโต๊ะ วิธีปรุง นำปลาร้าทั้งหมดใส่หม้อ เติมน้ำประมาณ 10 ช้อนโต๊ะแล้วต้มหรือเคี่ยวปลาร้าจนเปื่อยยุ่ยจนน้ำแห้งพอสมควรแล้วกรองเอาแต่น้ำปลาร้าเท่านั้น   เสร็จแล้วเทน้ำปลาร้าใส่ถ้วยเพื่อทำแจ่วโดยใส่พริกขี้หนูคั่วป่นลงไปตามสูตรทำแจ่วที่นิยมกัน เสร็จแล้วคนให้เข้ากันเติมน้ำมะนาวลงไปคนคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกทีก็เป็นอันเสร็จเมนูแจ่วพร้อมเสริฟรับประทานกันได้เลยแจ่วถือว่าเป็นอาหารอีสานที่ปรุงง่ายไม่เรื่องมากเช่นเดียวกับอาหารอีสานอื่นๆที่นิยมทำแบบง่ายๆบ้านๆแต่รสชาติไม่เลวทีเดียวสำหรับท่านที่ชอบอาหารประเภทนี้

วิธีแก้ปัญหาลูกชอบเถียง

เด็กบางคนมีนิสัยชอบเถียงพ่อแม่ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นเรื่องปวดหัวอยู่พอสมควรสำหรับพ่อแม่มือใหม่และมีความอดทนน้อย เนื่องจากเด็กยังไม่ใช่วัยที่ว่าด้วยเหตุผลแต่เป็นวัยที่ต้องการการเรียนรู้โดยการซึมซับรับตัวอย่างจากสิ่งที่เขาได้เห็นมา ถ้าผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่ต้องมีเหตุผลแล้วลดตัวลงไปปะทะคารมเถียงโต้กลับไปกลับมากับเด็กก็จะพาให้เรื่องบานปลายไปกันใหญ่เพราะเด็กยังไม่เข้าใจเหตุผลพอทำให้เขารู้สึกอคติหรือโกรธเกลียดไปเลยก็ได้ บางทีสาเหตุที่เด็กชอบเถียงเมื่อพ่อแม่ดุว่า อาจเป็นไปได้ว่าเขาติดนิสัยมาจากการเถียงเพื่อนที่โรงเรียนหรือเพื่อนที่เล่นด้วยกัน หรือจากที่ไหนก็แล้วแต่ แต่การปลูกฝังนิสัยลูกให้เป็นเด็กดีไม่เถียงพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ ให้เป็นผู้ฟังที่ดีโดยการหาทางกำราบพฤติกรรมชอบเถียงจึงไม่ใช่การดุว่าหรือการตีให้เด็กเจ็บเท่านั้น เพราะหากทำอย่างนั้นจะทำให้เด็กยิ่งดื้อรั้นและชอบเถียงมากขึ้นไปอีก วิธีที่ดีก็คือเมื่อลูกเถียงให้ลองทำเฉยๆดูบ้าง เพราะเด็กก็ต้องการให้มีผู้รับฟังเขาเหมือนกัน ลองทำเป็นเงียบเฉยๆและไม่พูดอะไรเลยดู สักครู่เด็กอาจจะรู้สึกผิดไปเอง และในที่สุดเขาก็จะเข้ามาขอโทษคุณพ่อคุณแม่เอง และ

แกงเหลืองปักษ์ใต้ (แกงส้ม)

เครื่องปรุง ปลากระบอกหรือปลาทูสด(หรือปลาอะไรก็ได้เกือบทุกชนิด) ครึ่ง กิโลกรัม พริกขี้หนูแห้ง 20-30 เม็ด กระเทียมปอกเปลือก 3-4 กลีบ กะปิแท้ ¾ ช้อนโต๊ะ ขมิ้นปอกเปลือก 2-3 แขนง ถั่วฝักยาวหรือแตงกวาหรืออาจเป็นผักชนิดอื่นก็ได้ พอประมาณ มะนาวคั้นเอาแต่น้ำ 1 ผล เกลือ ครึ่ง ช้อนโต๊ะ ขั้นตอนการปรุงแกงเหลืองปักษ์ใต้ (แกงส้ม) นำพริกขี้หนู ขมิ้น กระเทียมและเกลือใส่ในครกหินแล้วตำให้ละเอียดเสร็จแล้วใส่กะปิแท้ลงไปตำคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกที พอเสร็จจากการเตรียมเครื่องปรุงแล้ว ให้นำหม้อแกงใส่น้ำตั้งเตาติดไฟรอจนน้ำเดือดได้ที่ใส่เครื่องแกงลงไปคนให้ละลายกับน้ำหรืออาจใส่เครื่องแกงพร้อมกันตอนใส่น้ำในหม้อก็ได้ หลังจากน้ำเดือดแล้วใส่ปลาที่ชำแหละตัดแต่งเป็นชิ้นแล้วลงไปรอแกงเดือดอีกทีใส่น้ำมะนาวตามไปหรืออาจใช้ส้มแขกที่เป็นแว่นๆล้างให้สะอาดแล้วใส่ลงไปหรือจะใส่มะขามแทนมะนาวก็ได้แล้วแต่ชอบ เสร็จแล้วใส่ถั่วฝักยาวหรือผักอื่นๆตามลงไปสักครู่เมื่อปลาสุกได้ที่ก็ตักน้ำแกงชิมดูรสชาติหากรสชาติยังไม่ได้ที่ก็ใส่เครื่องปรุงเพิ่มลงไปอย่างละนิดละหน่อย เช่นหากต้องการให้ออกรสหวานนิดๆก็เติมน้ำตาลลงไปหน่อย ถ้

แกงเลียงพม่า

แกงเลียงพม่าจัดเป็นอาหารทางเหนืออีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากแกงเลียงทางภาคกลางของไทย หากท่านอยากรู้ว่าแตกต่างและมีส่วนผสมรวมทั้งการปรุงอย่างไรบ้างดูได้ด้านล่างครับ เครื่องปรุง น้ำเต้าหั่นทั้งเปลือกเป็นชิ้นๆ 1  ผล กุ้งสดแกะเปลือก ผ่าหลังเอาไส้สีดำที่เป็นเส้นๆออก 200 กรัม หอมแดง 1 หัว เกลือป่น   1/3 ช้อนโต๊ะ กะปิแท้ ครึ่ง ช้อนโต๊ะ วิธีปรุง นำกุ้งสดมาโขลกในครกหินเตรียมเอาไว้เสร็จแล้วตักน้ำใส่ในหม้อแกงใส่น้ำในหม้อพอประมาณไม่มากไม่น้อย ทางที่ดีให้ใส่น้ำน้อยๆไว้ก่อนเผื่อน้ำจากตัวกุ้งและเครื่องปรุงเอาไว้ด้วยจะช่วยไม่ให้น้ำเยอะเกินไปเมื่อปรุงสุกเพราะถ้าน้ำเยอะเกินไปจะจืดไม่อร่อย ต้มน้ำจนเดือดแล้วใส่กุ้งที่โขลกเตรียมไว้ลงไปในหม้อพอกุ้งสุกให้ใส่หอมแดงที่หั่นบางๆลงไป ตามด้วยกะปิและเกลือ ส่วนน้ำตาลไม่ต้องใส่ก็ได้เพราะจะได้รสหวานจากน้ำเต้า และ กะปิ อยู่แล้ว เมื่อน้ำแกงเดือดได้ที่ก็ใส่น้ำเต้าที่หั่นเตรียมไว้ พอน้ำเต้าสุกก็ตักขึ้นมาชิมดูหากยังไม่เค็มก็เติมเกลือลงไปอีกหน่อยหรืออาจจะใส่น้ำปลาก็ได้เมื่อชิมดูจนรู้สึกพอใจในรสชาติแล้วก็ยกลงจากเตาตักใส่ถ้วยรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆได้เลย

การรับประทานอาหารในแต่ละฤดู

การเลือกรับประทานอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ และเมื่อฤดูกาลในแต่ละปีหมุนเวียนเปลี่ยนไปเราจึงต้องเอาใจใส่การรับประทานในแต่ละฤดูการหรือในแต่ละสภาพอากาศเป็นพิเศษก็จะช่วยปกป้องร่างกายให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทาง ดูวิธีเลือกรับประทานอาหารเป็นพิเศษในแต่ละฤดูกาลต่างๆได้ดังต่อไปนี้ครับ การรับประทานอาหารในฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ควรรับรับประทานอาหารที่ช่วยทำให้ร่างกายมีความเย็น กล่าวคือควรรับประทานอาหารประเภทผักต่างๆให้มากขึ้นส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ให้เพลาๆลงรวมทั้งอาหารประเภทผัดและทอดให้ลดลงเช่นกันหรือหากอยากรับประทานบ้างก็ให้ใช้น้ำมันแต่น้อยในการปรุง  และอย่าลืมรับประทานผักกับผลไม้ประเภทฉ่ำน้ำมากๆเพื่อให้ผิวสดชื่นและช่วยลดความชื้นในร่างกาย อีกทั้งช่วยขับปัสสาวะด้วย อย่างเช่น แตงโม ส้ม แตงกว่า ขึ้นฉ่าย เป็นต้น การรับประทานอาหารในฤดูฝน เมื่อเข้าหน้าฝนอากาศจะเย็นลงจึงควรรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นแต่พยายามรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันมากนัก และควรรับประทานปลามากๆเพื