บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2015

การแช่อิ่ม

การแช่อิ่มเป็นการถนอมอาหารหรือแปรรูปอาหารให้เก็บไว้กินได้นานๆ โดยการใช้น้ำตาลช่วยรักษาสภาพไม่ให้แบคทีเรียเชื้อรามาทำลายผักหรือผลไม้ การแช่อิ่มคล้ายกับการเชื่อมที่ต้องใช้น้ำตาลแต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนัก การแช่อิ่มมี 2 วิธีได้แก่ การแช่อิ่มแบบรวดเร็ว วิธีนี้จะได้เนื้ออาหารไม่ค่อยสวย ไม่คงทน อยู่ได้ไม่นาน และอีกวิธีคือวิธีแช่อิ่มช้าที่อาหารออกมาสวยงามยังเต่งตึงเหมือนผักผลไม้สดและเก็บไว้กินได้นานอีกด้วย ส่วนมากหากทำเพื่อจำหน่ายพ่อค้าแม่ค้าจะใช้วิธีแช่อิ่มช้า เพราะจะได้ผักผลไม้แช่อิ่มที่สวยงามน่าซื้อแล้วยังเก็บไว้ได้นานอีกด้วย การแช่อิ่มด้วยวิธีรวดเร็ว วิธีนี้จะใช้ผักหรือผลไม้ที่ล้างแล้วพักให้สะเด็ดน้ำ แช่ในน้ำเชื่อมที่เย็นแล้ว น้ำเชื่อมทำโดยใช้น้ำตาล 1 ส่วนผสมกับน้ำ 2 ส่วน ต้มจนเดือดให้น้ำตาลละลายและเป็นการฆ่าเชื้อโรคไปด้วย แล้วนำไปเคี่ยวต่อเนื่องจนผลไม้อิ่มน้ำตาลมีสีใส น้ำตาลเหนียวข้นจับอยู่ที่ผิว แต่มีข้อเสียคือ ผักหรือผลไม้ จะเสียรูปทรง เหี่ยวหรือเละเนื่องจากความร้อนจะทำลายเซลล์ การแช่อิ่มแบบช้า การแช่อิ่มวิธีนี้จะใช้เวลานานหลายวัน กระทำโดยการต้มน้ำเชื่อ ม กับผลไม้ ใ

การเชื่อม

การเชื่อมเป็นการถนอมอาหารหรือแปรรูปอาหารอีกวิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากไม่ว่าจะทำเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคกันเองภายในครัวเรือน ผลไม้หลายชนิดสามารถนำมาเชื่อมไว้รับประทานได้ซึ่งแต่ละชนิดก็ให้รสชาติเอร็ดอร่อยแตกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับความนิยมชมชอบของแต่ละคน สำหรับวิธีเชื่อมจะใช้น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเข้าไปแทนที่น้ำในผักผลไม้ การแปรรูปอาหารวิธีนี้ทำได้โดยการต้มเคี่ยวกับน้ำตาลจนหวานข้นได้ที่แล้วนำมารับประทานได้เลย อย่างไรก็ตามการเชื่อมจะแตกต่างกับการแปรรูปและการถนอมอาหารประเภทอื่นอยู่พอสมควร กล่าวคือผักผลไม้ที่เชื่อมเสร็จแล้วไม่อาจเก็บไว้ได้หลายวันเหมือนการถนอมอาหารด้วยวิธีอื่น เนื่องจากจะบูดเน่าหรือขึ้นราได้ง่ายซึ่งต่างกับการแช่อิ่มที่ใช้น้ำตาลมากกว่า น้ำแห้งกว่าและเก็บได้นาน อาหารที่มักนำมาทำเชื่อมได้แก่ มันเทศ เผือก มันสำปะหลัง กล้วย ฟักทอง สาเก พุทราจีน มะม่วง มะละกอ จาวตาล มะยม มะพร้าว เป็นต้น การเชื่อมอาหารชนิดต่างๆ สูตรกล้วยน้ำว้าเชื่อม การทำกล้วยไข่เชื่อมน้ำตาล สูตรมะยมเชื่อม มันเทศเชื่อม  มันสำปะหลังเชื่อม วิธีทำฟักทองเชื่อม เคล็ดลับถัดไป การแช่อิ่ม เคล็ดลับก่อนหน้า

การถนอมอาหารด้วยการหมักดอง

การหมักดองเป็นการถนอมอาหารหรือแปรรูปอาหารอีกประเภทหนึ่งที่สามารถเก็บอาหารไว้ได้นาน เพราะมีความเค็มจากเกลือ ความหวานจากน้ำตาล หรือความเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูที่จะทำปฎิกิริยาจนได้สภาวะแบคทีเรียและเชื้อราไม่อาจมาทำลายอาหารให้เน่าเสียได้ แต่เนื่องจากอาหารหมักดองมักจะมีสีหม่น จืดจางไปจากธรรมชาติมากจึงมักมีการนำสีผสมอาหารเช่น สีเหลือง สีเขียวมาช่วยเติมแต่งให้อาหารดูน่ากินขึ้น และการดองจะมีการแช่อาหารลงในน้ำปูนใสเพื่อให้อาหารดองมีความแข็งและกรอบ เป็นรูปทรง ไม่เปื่อยเละอีกด้วย การดองโดยทั่วไปนั้นมีสามชนิด ได้แก่ การดองเค็ม การดองประเภทนี้จะใช้เกลือไปแทนที่น้ำในผักผลไม้หรือเนื้อสัตว์ ท ำให้ มีสภาพเป็นกรดไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค การดองมักใช้ความเข้มข้นของเกลืออยู่ที่ 20% - 25% การดองอาจใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงหลายๆเดือนก็ได้ซึ่งแล้วแต่คุณลักษณะของผักผลไม้หรือเนื้อสัตว์นั้นๆ ตัวอย่างอาหารที่ใช้วิธีดองเค็มล้วนๆได้แก่ ไข่เค็ม น้ำปลา กระท้อนดอง เป็นต้น การดองเปรี้ยว วิธีดองเปรี้ยวก็คือใช้เกลือเข้มข้น 5% - 8% ต้มฆ่าเชื้อโรค หมักกับผักผลไม้สดนาน 3 – 10 วันก็รับประทานได

การถนอมอาหารโดยการกวน

การถนอมอาหารโดยการกวนทำได้โดยการนำอาหารสดเช่นผัก ผลไม้มากวนด้วยน้ำตาลและความร้อนจนกระทั่งผักหรือผลไม้เปื่อยยุ่ยเป็นเนื้อเดียวกัน เหนียวหนืดและสามารถนำมาปั้นเป็นก้อนได้ การกวนควรจะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 75 เพราะสามารถป้องกันเชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ ส่วนอาหารที่นำมากวนจะช้ำหรือเละบ้างก็ไม่เป็นไร ถือว่าใช้ได้หมด หรือสุกมากเกินไปก็นำมากวนได้ หรือจะใช้กากอาหารที่เหลือจากการทำน้ำผลไม้มากวนแล้วปรุงรสก็ได้ การกวนจึงเป็นการถนอมอาหารที่ยอดเยี่ยมมากเพราะสามารถนำอาหารที่ไม่อาจสามารถรับประทานตามปกติได้มาทำให้รับประทานได้ใหม่อีกครั้ง สิ่งที่จะนำมากวนเช่น มะม่วง มะดัน สาเก สับปะรด มะเฟือง มะยม กระท้อน กล้วย ถั่วเขียว ทุเรียน เผือก มันเทศ มันสำปะหลัง  สำหรับผักผลไม้ที่ต้องเติมกะทิกวนไปด้วยเพื่อให้หอมและมัน ได้แก่ เผือก ถั่วต่างๆ กล้วย ฟักทอง มันเทศ อาหารเหล่านี้มีแป้งมากเมื่อกวนใส่กะทิจะทำให้เนื้อเนียนนุ่ม อย่างไรก็ตามผักผลไม้ที่มีน้ำมากอยู่แล้วควรใช้น้ำตาลกวนเพียงอย่างเดียวก็พอเพราะถ้านำมากวนผสมกะทิจะเหม็นหืนได้ง่าย เช่น มะม่วง สับปะรด มะละกอ มะเฟือง ทุเรียน มะดัน มะยม เป็นต้น

การผายปอด

การผายปอดคือการเป่าลมหายใจเข้าปอดผู้ป่วยที่หมดสติ กระทำโดยเป่าลมเข้าทางจมูกหรือทางปากอย่างแรงและรวดเร็วติดต่อกัน 4 ครั้ง (สำหรับเด็กให้เป่าเข้าปากและเข้าจมูกพร้อมกัน) หลังจากได้ เปิดทางเดินหายใจผู้ป่วยหมดสติ แล้ว เนื่องจากคนเราเมื่อหายใจออกมานั้นจะมีออกซิเจนออกมาร้อยละ 16  ซึ่งเพียงพอสำหรับการเพิ่มออกซิเจนให้ผู้ป่วยที่หมดสติได้ฟื้นขึ้นมา (ในอากาศทั่วไปมีออกซิเจนร้อยละ 21 ) หากเป่าลมหายใจเข้าปากจะต้องบีบจมูกผู้ป่วยไว้และในทางกลับกันถ้าเป่าลมเข้าจมูกก็ต้องปิดปากผู้ป่วยไว้ หลังจากนั้นให้ติดตามผล กล่าวคือหากเป่าปากสองครั้งแล้วทรวงอกของผู้ป่วยไม่กระเพื่อมแสดงว่ามีสิ่งอุดกลั้นทางเดินหายใจ ให้ใช้มือล้วงออกมาจากลำคอแต่ระวังอย่าดันให้ตกลงไปมากกว่าเดิม หากเห็นทรวงอกผู้ป่วยเคลื่อนไหวกระเพื่อมขึ้นลงแสดงว่าผู้ป่วยเริ่มหายใจแล้ว อย่างไรก็ตามหากยังไม่ได้ผลให้เป่าลมหายใจเข้าไปอีกด้วยความเร็ว 20 ต่อนาทีสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และให้ใช้ความเร็วมากขึ้นเป็นสองเท่าในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก (ปกติผู้ใหญ่จะหายใจ 12 – 20 ครั้งต่อนาที) แต่สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาพิษไม่ควรช่วยให้หายใจด้วยการเป่าปาก เพราะ

การช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติ

อันดับแรกให้ตรวจสอบว่ายังหายใจอยู่หรือไม่โดยเอาหูเอียงเข้าหาเหนือปากผู้ป่วย หากผู้ป่วยยังหายใจอยู่ก็จะรู้สึกได้ถึงลมหายใจว่ายังมีอยู่หรือไม่ประกอบกับให้มองไปที่หน้าอกว่ากระเพื่อมตามแรงหายใจหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่หายใจให้ทดสอบว่าหัวใจยังทำงานอยู่หรือเปล่าโดยคลำชีพจรที่ข้างลำคอ ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางแนบด้านข้างลำคอตรงกับร่องพอดี จะเป็นลำคอด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ หากคลำดูแล้วไม่พบชีพจร อีกทั้งตรวจดูแล้วพบว่ารูม่านตาขยายค้างอยู่ แสดงว่าหัวใจหยุดทำงาน แม้ท่านจะไม่ทราบว่าหัวใจผู้ป่วยหยุดทำงานมานานเท่าไหร่แล้วก็ตาม ก็ให้รีบทำการกู้ชีพทันที ถ้าผู้ป่วยผูกเนคไทก็ให้ถอดออกและคลายเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อเปิดทางเดินหายใจ และดูว่าผู้ป่วยมีอาหารจากการอาเจียนไปปิดหลอดลมหรือไม่ถ้ามีให้เอาออกมา หรือลิ้นของผู้ป่วยปิดทางเดินหายใจเพราะศีรษะก้มต่ำลงหรือไม่ หรือกล้ามเนื้อลำคอไม่ทำงาน ถ้าเป็นเช่นนั้นให้เปิดทางเดินหายใจให้สะดวกโดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายด้วยการใช้มือข้างหนึ่งจับลำคอผู้ป่วยยกขึ้น ส่วนมืออีกข้างให้กดหน้าผากไว้เพื่อเป็นการยืดศีรษะและลำคอขยายช่องทางเดินหายใจจากนั้นเอามือดึงคางผู้ป่วยขึ้น

กระท้อนแช่อิ่มแห้ง

ส่วนประกอบ กระท้อนห่อรสหวาน ½ กิโลกรัม น้ำตาลทรายขาว ½ กิโลกรัม น้ำปูนใส 3 ถ้วย น้ำเปล่า 2  ถ้วย น้ำเกลือ 3 ถ้วย วิธีทำ นำกระท้อนมาล้างให้สะอาดแล้วปอกเปลือกออกแล้วใช้มีดคมกรีดผลกระท้อนตามยาวจากขั้วผลลงไปยังก้นผลให้รอบผล ให้ได้ระดับความกว้างลึกเท่ากันเสร็จแล้วแคะเอาเมล็ดออกให้หมด เสร็จแล้วนำกระท้อนแช่ในน้ำเกลือโดยน้ำเกลือที่เตรียมไว้จากเกลือ 1 ส่วนกับน้ำ 10 ส่วน ให้แช่ทิ้งไว้สักประมาณ 3 ชั่วโมงจึงตักขึ้นมาบีบเอาน้ำเปรี้ยวฝาดออกไปแล้วบีบล้างในน้ำเปล่าหลายๆครั้งแล้วนำไปแช่ต่อในน้ำปูนใสอีกประมาณ 2 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำออกมาล้างน้ำเปล่า 1 ครั้งแล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นให้เชื่อมน้ำตาลจนเริ่มเข้มข้นและเหนียว แล้วให้ใส่กระท้อนลงไปเคี่ยวจนน้ำเชื่อมจับกระท้อนเป็นเกล็ดจึงยกลง รินใส่ขวดโหลให้น้ำเชื่อมท่วม ปิดฝาให้สนิท ตั้งทิ้งไว้นาน 3 คืน แล้วนำกระท้อนและน้ำเชื่อมมาตั้งไฟเคี่ยวในกระทะทองเหลืองพอเดือดสัก 3 นาที เสร็จแล้วนำออกไปตากแดดให้แห้ง เก็บใส่ขวดโหลปิดฝาไว้จะเก็บไว้ได้นาน และจะเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้นหากเอาขวดโหลเข้าแช่ในตู้เย็น เคล็ดลับถัดไป การช่วยเหลือผู้

สูตรกล้วยน้ำว้าเชื่อม

ส่วนประกอบ กล้วยน้ำว้าสุกพอดีไม่งอม 1 หวี น้ำตาลทราย 2 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย น้ำปูนใส 2 ½ ถ้วย วิธีทำ ขั้นแรกต้องนำกล้วยน้ำว้ามาปอกเปลือกออกให้หมดก่อนแล้วอาจตัดแบ่งตามแนวยาวเป็น 2 ชิ้นหรือ 4 ชิ้นก็ได้เสร็จแล้วให้เอากล้วยน้ำว้าที่ตัดแต่งแล้วนั้นลงแช่ในน้ำปูนใสสักประมาณ 30 นาทีแล้วนำมาล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีกที ให้ใช้กระทะทองเหลืองเชื่อมโดยตั้งเตาติดไฟใส่น้ำ น้ำตาลลงไปพอน้ำตาลละลายก็ใส่กล้วยที่จะเชื่อมลงไป ขณะเชื่อมให้ใช้ไฟอ่อนแต่อย่ากลับด้านบ่อยแต่ให้ตักน้ำเชื่อมราดชิ้นกล้วยแทน เมื่อเชื่อมจนได้ที่แล้วสังเกตกล้วยจะมีสีแดงอ่อน ตักชิมดูเนื้อจะแข็งไม่เละ วิธีรับประทานให้อร่อยยิ่งขึ้น เมื่อเชื่อมจนได้ที่ดังกล่าวแล้วก็ได้เวลารับประทานกล้วยเชื่อมที่แสนจะอร่อยเสียที ถ้าจะรับประทานกล้วยเชื่อมให้อร่อยยิ่งขึ้นก็ให้รับประทานกับหัวกะทิที่นึ่งผสมเกลือจะอร่อยและได้รสชาติกลมกล่อมหอมหวานทีเดียวเชียว ข้อควรจำในการทำกล้วยน้ำว้าเชื่อม ขณะเชื่อมอย่าใช้ไฟแรงให้ใช้ไฟอ่อนๆตามที่กล่าวไว้ด้านบน เพราะหากใช้ไฟแรงจะทำให้กล้วยแข็งเกินไปไม่น่ารับประทาน เคล็ดลับถัดไป กระท้อนแช่อิ่มแห้ง เคล