บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2016

วิธีทำยำหัวปลี

ส่วนผสม หัวปลี 3 หัว กุ้งชีแฮ้ 2 ขีด เนื้อหน้าอกไก่ 1 อก มะพร้าวขูด 1 ขีด หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำพริกเผา พริกชี้ฟ้าาแดง ผักกาดหอม น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา มะนาว ผักชี วิธีทำ ล้างกุ้งแกะเปลือกออก ผ่าหลังชักไส้ดำออกนึ่งพอสุก อกไก่ล้างน้ำให้สะอาด ต้มสุกฉีกเนื้อเป็นชิ้นๆเผาหัวปลีให้สุก ลอกออกจนเหลือกาบอ่อนตัดเป็น 2 ท่อนแล้วหั่นตามยาว มะพร้าวคั้นกะทิข้นๆ ½ ถ้วย ปอกหัวปลี หัวหอม ซอยละเอียด อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ เจียวทีละอย่างให้เหลือง ตักใส่ถ้วยไว้ พริกชี้ฟ้าแดง 5 เม็ด ผ่ากลางตามยาว ล้างน้ำเอาเมล็ดออกหั่นฝอย ล้างผักชีเด็ดเป็นช่อๆ ผักกาดหอม ตัดก้านออก นำหัวกะทิตั้งไฟให้เดือด ยกลงเทใส่จาน ตักน้ำพริกเผาใส่ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาล คนส่วนผสมให้ละลายเข้ากัน ชิมออกรสจัดๆหัวปลี กุ้ง ไก่ ใส่รวมในชามอ่าง เทน้ำปรุงที่ผสมไว้ใส่เคล้าให้เข้ากัน จัดผักกาดหอมแต่งรองจาน ตักเครื่องยำใส่ โรยพริกชี้ฟ้า หัวหอมเจียว กระเทียมเจียว ผักชี เมื่อรับประทานจึงเคล้าเบาๆ พอเข้ากัน เมนูอาหารประเภทยำอื่นๆ วิธีทำยำปูทะเล เคล็ดลับถัดไป วิธีทำข้าวเหนียวเปียกลำไย เคล็บลับก

วิธีทำน้ำลอยดอกไม้

น้ำลอยดอกไม้เป็นส่วนผสมในการทำขนมของไทยอย่างหนึ่งซึ่งนำมาใช้ในการคั้นกะทิหรือใช้ผสมกับน้ำตาลทรายทำเป็นน้ำเชื่อมเพื่อให้ได้ขนมที่มีกลิ่นหอมและชวนรับประทานยิ่งขึ้นดูวิธีการทำน้ำลอยดอกไม้ดังต่อไปนี้ครับ วิธีทำน้ำลอยดอกไม้ 1 ล้างภาชนะให้สะอาด เช่น ถังน้ำขวดโหลที่มีฝาปิดมิดชิด 2 เทน้ำต้ม น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ค้างหลายๆวัน หากใช้น้ำก๊อกใหม่ๆจะทำให้มีกลิ่นคลอรีน 3 เก็บดอกไม้เวลา 18:00-20:00 น . เพราะดอกไม้จะส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลานี้ ดอกมะลิ วางทางก้านลงและนำมาลอยน้ำและปิดฝาให้สนิท ดอกกระดังงา กระดังงาลนกับเทียนให้เหี่ยวเด็ดเป็นกลีบๆ ดอกกุหลาบ เด็ดเอาแต่กลีบสวยๆต้องเหลือที่ว่างไว้สำหรับให้น้ำเก็บกลิ่นหอม นำมาลอยน้ำและปิดฝาให้สนิท พอรุ่งเช้าประมาณ 06:00 น . ช้อนดอกไม้ขึ้นจากน้ำให้หมดเนื่องจากกลีบดอกไม้จะช้ำทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นได้ เคล็ดลับถัดไป วิธีทำยำหัวปลี เคล็ดลับก่อนหน้า น้ำตาลชนิดต่างๆสำหรับทำขนมไทย

น้ำตาลชนิดต่างๆสำหรับทำขนมไทย

น้ำตาลทราย ได้ความหวานจากอ้อยมีทั้งสีขาวมาก ขาวหม่น และสีแดง ซึ่งน้ำตาลชนิดนี้จะเหมาะกับการเชื่อมหรือลอยแก้ว น้ำตาลทรายขาว จะทำให้น้ำตาลเชื่อมดูใส น้ำตาลทรายแดง จะไม่มีการฟอกสีขาว จึงมีสีออกน้ำตาลตามธรรมชาติ เหมาะกับการทำขนมอย่างถั่วเขียวหรือถั่วแดงต้มน้ำตาล และใส่แทนน้ำเชื่อมในเฉาก๊วย จะช่วยให้ได้รสชาติที่หวานหอมขึ้น น้ำตาลโตนด ได้ความหวานจากน้ำหวานของต้นตาลโตนดมักจะบรรจุในปี๊บ หรือทำเป็นปึก สีออกเหลืองค่อนข้างคล้ำ รสหวานแหลมเหมาะกับการทำขนมแกงบวด สังขยาฟักทอง ขนมหม้อแกง น้ำกะทิลอดช่องแตงไทย น้ำตาลมะพร้าว ได้ความหวานจากน้ำหวานของมะพร้าว ลักษณะคล้ายน้ำตาลโตนด สีของน้ำตาลมะพร้าวเป็นสีเหลืองอ่อนกว่าน้ำตาลโตนด ส่วนรสชาติออกหอมหวาน น้ำเชื่อม คือ การต้มน้ำกับน้ำตาลให้น้ำตาลละลาย และเคี่ยวให้ได้ความเหนียวหวานตามความต้องการ เช่น หากจะใช้น้ำเชื่อมทำชนมทองหยิบ ฝอยทอง น้ำเชื่อมควรจะมีลักษณะคล้ายเส้นไหม คือ หยดเป็นสายยาว 2 นิ้ว ซึ่งความเหนียวของน้ำเชื่อมถือเป็นหัวใจหลักของการทำขนมไทยปัญหาที่พบบ่อย คือ น้ำเชื่อมไม่ใส ทำให้สีขนมไม่สวยอย่างที่ต้องการเรื่องนี้มีเทคนิคง่าย

วิธีทำยำปูทะเล

ส่วนผสม ปูทะเลมีไข่ 5 ตัว หอมหัวใหญ่ 1 หัว ถั่วลิสง กระเทียม น้ำตาลทราย น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาว เกลือป่น พริกชี้ฟ้าแดง ตามความเหมาะสม วิธีทำ นำปูทะเลมาล้างให้สะอาด นึ่งจนสุก แล้วแกะเนื้อและไข่ใส่จานไว้ ปอกหอมใหญ่ผ่าครึ่งหั่นตามขวาง ปอกกระเทียม สับให้ละเอียด 1 ช้อนโต๊ะเจียวกับน้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ ให้เหลือง ตักใส่ถ้วยไว้ ถั่วลิสงทอด ล่อนเปลือกออกก่อน เสร็จแล้วล้างผักให้สะอาด เด็ดใบสะระแหน่ ½  ถ้วย ต้นหอมหั่นท่อนสั้น 1/6 ถ้วย ผักชีต้นใหญ่ 1 ต้นเด็ดเป็นช่อๆ พริกชี้ฟ้าแดง 7 เม็ด ผ่ากลางตามยาว ล้างเอาเมล็ดออกแล้วหั่นฝอยผสมน้ำตาลทราย กับน้ำส้มสายชูและเกลือป่นคนให้ละลาย ชิมออกรสจัดเปรี้ยว เค็ม หวาน เทใส่ชามคลุกปูเคล้าพอเข้ากัน แล้วใส่ใบหอมใหญ่ ใบสะระแหน่ ต้นหอม พริกแดง เคล้าเบาๆพอเข้ากันอีกที ตักใส่จาน โรยกระเทียมเจียว ผักชี ถั่วลิสงทอดใส่รอบๆจานพร้อมรับประทานได้ทันที เคล็ดลับถัดไป น้ำตาลชนิดต่างๆสำหรับทำขนมไทย เคล็ดลับก่อนหน้า วัตถุดิบในการทำอาหารไทย แป้งชนิดต่างๆตอนที่ 2

วัตถุดิบในการทำอาหารไทย แป้งชนิดต่างๆตอนที่ 2

แป้งข้าวโพด เป็นแป้งที่สกัดจากเมล็ดข้าวโพด มีลักษณะเป็นผงสีขาวเหลืองนวลเมื่อสัมผัสผิวของแป้งจะเนียนลื่นมือ เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะข้นและใสไม่คืนตัวง่าย เมื่อประกอบเป็นตัวแป้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็งร่วน เป็นมันวาว นิยมนำมาผสมกับอาหารเพื่อต้องการความข้นอยู่ตัว แป้งถั่วเขียว เป็นแป้งที่สกัดมากจากถั่วเขียว เมล้ดแห้งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สัมผัสแล้วจะสากมือ ก่อนใช้ควรนำมาบดให้เป็นผงก่อน เมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะข้นค่อนข้างใส เมื่อพักให้เย็นแป้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ข้างในเหนียวเหมาะในการทำอาหารที่ต้องการความใสอยู่ในตัว เช่น ซาหริ่ม ขนมลืมกลืน เป็นต้น แป้งท้าวยายม่อม สกัดมาจากหัวมัน มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา เวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใสเมื่อทำให้เย็นจะเหนียวตัวกว่าแป้งมันสำปะหลังนิยมนำมาใช้ร่วมกับแป้งชนิดอื่นๆ เพื่อให้ได้อาหารที่มีความข้นเหนียว เป็นมันวาว เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ เป็นต้น แป้งสาลี ทำจากเมล็ดข้าวสาลี ลักษณะเป็นผงสีขาวเมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะร่วนเหลวไม่อยู่ตัว คุณภาพของแป้งสาลีขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนในเมล

วัตถุดิบในการทำขนมไทย ตอนที่ 1

ขนมไทยส่วนใหญ่แล้วทำมาจากข้าวและส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี กลิ่นหอมจากธรรมชาติ นอกจากนี้ข้าวที่นำมาใช้ในการทำขนมไทยมีทั้งที่ในรูปของข้าวที่เป็นเมล็ดและข้าวที่แปรรูปเป็นแป้งแล้ว แป้งที่ใช้ในการประกอบการทำขนมหวานไทย มีดังต่อไปนี้ แป้งชนิดต่างๆที่ใช้ทำขนมไทยมีดังต่อไปนี้ แป้งข้าวจ้าว ลักษณะและการนำมาประกอบอาหาร แป้งชนิดนี้เป็นแป้งที่ทำจากเมล็ดข้าวเจ้า มีลักษณะเป็นผงสีขาวจับแล้วจะรู้สึกได้ว่าสากมือเล็กน้อย ถ้าทิ้งให้เย็นจะจับตัวเป็นก้อน เหมาะที่จะใช้ประกอบอาหารที่ต้องการความอยู่ตัว ร่วนไม่เหนียวหนืด อาหารที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า เช่นขนมขี้หนู ขนมกล้วย เส้นขนมจีน เป็นต้น แป้งข้าวเหนียว ลักษณะและการนำมาประกอบอาหาร แป้งข้าวเหนียวทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อยเช่นกัน เมื่อนำไปทำให้สุกจะมีลักษณะสีขุ่นข้น เหนียวหนืด พอแป้งถูกความร้อนจะจับตัวเป็นก้อนค่อนข้างเหนียวเหมาะในการนำมาประกอบอาหารที่ต้องการความเหนียวเกาะตัว เช่น ขนมเทียน ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม เป็นต้น แป้งมันสำปะหลัง ลักษณะและการนำมาประกอบอาหาร เป็นแป้งที่ทำมาจากหัวมันสำปะหลัง มีลักษณะเป