การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชัก

โรคลมชักเป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากการทำงานของเซลล์สมองไม่ไปด้วยกัน กล่าวคือเมื่อเกิดอาการลมชักเซลล์สมองกลุ่มหนึ่งจะส่งคลื่นไฟฟ้าออกมามากเกินกว่าปกติ จนทำให้เกิดการเกร็งชักกระตุกของกล้ามเนื้อ ตลอดจนการชักกระตุกของใบหน้าทำให้ผู้ป่วยบางรายกัดลิ้น หายใจหอบ หน้าซีด ประมาณ 3 – 4 นาที หายใจช้าลงและอาจกระตุกหายไป แล้วมีเหงื่อออกตามตัว นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายขณะชักจะมีอุจจาระ ปัสสาวะออกมาด้วย บางรายพอชักเสร็จแล้วจะหมดสติไประยะหนึ่ง แล้วจะตามมาด้วยอาการปวดศีรษะมาก หน้าเขียวคล้ำ หายใจหอบ ปากคล้ำ เล็บสีคล้ำ

อาการดังกล่าวมักเป็นขณะเดินทางขึ้นลงรถ หรือขึ้นลงบันใด หรืออาจเป็นลมบ้าหมูทุก 2 – 3 เดือน เมื่อมีอายุมากขึ้น อาการจะน้อยลงและหายไปเองในที่สุด ในผู้ป่วยบางรายอาการลมชักเกิดภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะและสมอง หลังการติดเชื้อของสมอง ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ที่มีประวัติเป็นเนื้องอกที่สมอง บางรายอาจมีประวัติสมองผิดปกติมาตั้งแต่แรกคลอด

สำหรับการปฐมพยาบาลฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชักมีดังต่อไปนี้
1 หากผู้ที่ชักกระตุกอยู่ในที่อันตราย เช่น บนที่สูง บนขั้นบันใด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ต้องพยายามพาผู้ป่วยออกมาให้พ้นจากจุดอันตรายก่อน

2 อย่าเอาของแข็ง เช่น ช้อนยัดเข้าไปในปากของผู้ชักกระตุก เพราะเมื่อผู้ป่วยกัดฟันอาจทำให้ฟันหรือกระดูกกรามหักได้ ถ้าใช้ผ้าม้วนๆ ใส่ในปากได้จะดีกว่าการใช้ของแข็ง หรืออาจให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อไม่ให้กัดลิ้นตัวเอง

3 การชักกระตุกอย่างอ่อน มีอาการกระตุกที่ริมฝีปากหรือเปลือกตา โดยปกติจะหมดสติเหมือนหลับไป เป็นเวลา 1 – 2 นาทีแล้วตื่นขึ้นเองโดยไม่ทราบว่าตนเองเป็นลมชัก หากเป็นอย่างนี้ผู้ที่อยู่ด้วยในตอนนั้นควรเล่าให้ผู้ป่วยฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้น

4 หากเกิดการชักกระตุกอย่างรุนแรง จนมีน้ำลายฟูมปาก หายใจเสียงดัง กัดลิ้น อาจมีปัสสาวะหรืออุจจาระราด มักเป็นอยู่นาน 2 – 3 นาที จากนั้นจะหลับไปนานนับชั่วโมงกว่าจะรู้สึกตัว ช่วงนี้ควรคลายเสื้อผ้าให้ทางเดินหายใจสะดวกขึ้นและจัดให้นอนในท่าพักฟื้น คืออยู่ในท่ากึ่งคว่ำเพื่อป้องกันการสำลัก ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยจะช่วยให้สิ่งที่อาเจียนออกมาไหลออกจากปากได้ง่าย ให้ระวังอย่าให้ลิ้นตกไปขวางทางเดินหายใจ และถ้าจะให้ดีให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ไปอยู่ที่เงียบปราศจากเสียงรบกวน แต่ควรจะมีคนคอยดูแลใกล้ชิดด้วย

5 หากมีอาการชักกระตุกนานกว่า 3 นาที หรือชักกระตุกติดต่อกันเรื่อยๆ มีอาการหลังงอแข็ง หยุดหายใจจนหน้าเขียว เล็บเขียว แสดงว่าขาดออกซิเจน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจรักษาต่อไป

6 สำหรับการเป็นลมชักในเด็กมักมีอาการไข้ร่วมด้วย มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อกระตุกรุนแรง กำหมัด หลังแอ่น อาจมีหน้าเบี้ยว ตาเหล่ ตาค้างด้วย ให้ปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวให้ไข้ลด ให้นอนลงแล้วนำส่งโรงพยาบาล

7 สำหรับการป้องกันเมื่อทราบว่าจะเป็นลมชักควรให้ยาระงับประสาทและยากันชัก หรือให้กินยานอนหลับ และพักผ่อนให้เพียงพอ และควรออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

เคล็ดลับวิธีค้นหาเพื่อนเก่าในเฟสบุคหรือสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ

เคล็ดลับล้างเนื้อเค็ม ปลาเค็มให้หายเค็มเร็วๆ