การช่วยเหลือผู้ป่วยช็อก หมดสติ

ผู้ป่วยหมดสติหรือช็อก เพราะว่าอวัยวะหลายแห่งในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้มีออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้ชีพจรเต้นเร็วผิวสีซีดลงรวมทั้งริมฝีปากและสีของเล็บก็ซีดด้วย มีเหงื่อออกมาก ตัวเย็น เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ไม่รู้สึกตัวและในที่สุดหัวใจก็หยุดเต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายอย่างด้วยกันอันได้แก่

1 ส่วนมากเกิดจากหัวใจทำงานล้มเหลว เช่น โรคหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ รวมทั้งการอุดกั้นทางเดินหายใจ

2 การเสียเลือดมากก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญ ในผู้ใหญ่หากเสียเลือดถึง 1 ลิตร นับว่าอยู่ในขั้นอันตราย และหากเสียเลือดถึง 2 ลิตรซึ่งเป็นปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของเลือดทั้งหมดในร่างกาย จะทำให้ช็อกได้เร็วมากจนหัวใจล้มเหลว จับชีพจรที่มือไม่ได้

3 สาเหตุมาจากสมอง เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน ปวดศีรษะ ไมเกรน โรคลมชัก

4 และอาจมาจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หอบเหนื่อย เครียด แอลกอฮอล์ ยาขยายหลอดเลือด ภาวะขาดน้ำ ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไวผิดปกติ การแพ้ยาฉีด แพ้พิษสัตว์ พิษแมลง เป็นต้น

หากเป็นการช็อกจากโรคหัวใจ การเสียเลือดมาก หรือท้องเสียรุนแรงหรืออาเจียนรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวเย็น (ส่วนการเป็นลมแดดจะตัวร้อน) เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วแต่แผ่วเบา หายใจลำบาก กระหายน้ำ ในกรณีที่เสียเลือดมากต้องหาวิธีห้ามเลือด โดยให้ผู้ป่วยนอนลง ศีรษะอยู่ต่ำกว่าส่วนขา ให้ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผล การกดหลอดเลือดเหนือบาดแผล จัดให้ผู้ป่วยนอนลง คลายเสื้อผ้าให้สบายตัวแต่ห่มผ้าให้มีความมอบอุ่น รักษาตามอาการ หากผู้ป่วยกระหายน้ำให้จิบน้ำเล็กน้อย แต่อย่าให้กินอาหารหรือน้ำดื่ม แล้วให้นำส่งโรงพยาบาลหรือแจ้งขอความช่วยเหลือต่อไป

แต่ในกรณีที่พบผู้ป่วยหมดสติไปแล้ว ให้สังเกตสิ่งที่พบในตัว เช่น บัตรผู้ป่วยเบาหวาน เข็มฉีดยาอินซูลิน แสดงว่าผู้ป่วยหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นควรนำส่งโรงพยาบาล

หากพบยาเม็ดกลีเซอริลไนเตรทอยู่ในกระเป๋า เป็นยารักษาโรคหัวใจ แสดงว่าโรคหัวใจกำเริบ

ถ้าผู้ป่วยมีผื่นหรือตุ่มแดงตามผิวหนัง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก อาจเกิดจากการแพ้ยา

หากพบยาพ่น แสดงว่าเป็นโรคหืดหอบ

ถ้าพบยาฟีโนบาร์บิโทนหรือเฟนิโตอิน แสดงว่าเป็นโรคลมชัก

ถ้าพบว่าผู้ป่วยหมดสติไปแล้วให้จัดผู้ป่วยอยู่ในท่านอนพักโดยทั่วไปคือนอนตะแคง แต่หากบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือทรวงอกต้องจัดให้อยู่ในท่านอนหงายมีหมอนรองศีรษะจนถึงไหล่ หากบาดเจ็บที่คอและหลังควรให้นอนหงายราบ ส่วนการหมดสติจากอุบัติเหตุมีการแตกหักของกระดูกหรือไขสันหลัง ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมตอนที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วโทรขอรถพยาบาลโดยด่วน ระหว่างรอให้ทำการกู้ชีพไปเรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

เคล็ดลับวิธีค้นหาเพื่อนเก่าในเฟสบุคหรือสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ

เคล็ดลับล้างเนื้อเค็ม ปลาเค็มให้หายเค็มเร็วๆ