การแก้ปัญหาดินกรดด้วยวิธีง่ายๆ

ปัญหาดินเป็นกรดเป็นปัญหาหนึ่งสำหรับเกษตรกรเนื่องจากเมื่อดินเป็นกรดก็จะไม่สามารถปลูกพืชให้งอกงามและให้ผลผลิตดีได้ แต่ดินเป็นกรดสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีง่ายๆและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

สำหรับการแก้ปัญหาดินกรดให้ดีขึ้นจนสามารถเพาะปลูกพืชให้งอกงามได้อีกครั้ง เกษตรกรควรเน้นหรือให้ความสำคัญกับวิถีเกษตรอินทรีย์โดยให้จุลินทรีย์ที่เอื้อประโยชน์ เป็นตัวช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น แต่ปัญหาก็คือการจะเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ในดินกรดนั้นไม่สามารถจะทำได้ทันที เนื่องจากความเป็นกรดในดินจะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในดินจนทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนหรือทำกิจกรรมได้

ดังนั้นประการแรกควรปรับค่าความเป็นกรดของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน วิธีปรับก็คือให้ใช้วัสดุปูนทางการเกษตร เช่น หินปูนบด ปูนขาว ปูนเผา โดโลไมท์ เข้าไปปรับสภาพค่าพีเอชของดินให้ดีขึ้นโดยใช้ในอัตราส่วนประมาณ 100 – 300 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วลดการใช้ปุ๋ยเคมีแต่หันมาเน้นการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ไส้เดือนดิน และ จุลินทรีย์ในการบำรุงดินและพืชแทน สำหรับช่วงที่รอให้โครงสร้างดินดีขึ้นหลังจากการปรับสภาพดินก็ให้วางแผนการเพาะปลูกพืชให้มีความสอดคล้องกับสภาพดินกรด เช่น ปลูกข้าวไร่แทนข้าวปกติ หรือปลูกมันสำปะหลัง มะม่วง ส้ม สัปปะรด มะม่วงหิมพานต์ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและทนต่อสภาพดินกรดได้ และทำการลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินด้วยการสร้างสิ่งกีดขวางหรือกำแพงหญ้าแฝก ลดการกำจัดวัชพืชจนโล่งเตียนและควรมีการปลูกพืชคลุมดินร่วมด้วยในพื้นที่

อย่างไรก็ตามหากพบว่าในพื้นที่มีความเป็นกรดรุนแรงใต้ชั้นไถพรวนหรือที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตรเป็นต้นไป ก็ให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่มีระบบรากยาว และเลือกใช้วัสดุอื่นเช่น ยิปซัม หรือ ฟอสโฟยิปซั่มในการปรับค่าพีเอชแทนวัสดุปูนทางการเกษตร

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้อาการปวดแสบร้อนเมื่อพริกเข้าตา

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

วิธีป้องกันและรักษาสิวบนแผ่นหลัง