วิธีป้องกันและรักษาโรคไวรัสอีโบลา

โรคไวรัสอีโบลาหรือไข้เลือดออกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในมนุษย์มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอีโบลาโดยเริ่มมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศรีษะหลังจากได้รับเชื้อไว้รัสอีโบลาสองวันถึงสามอาทิตย์ จากนั้นจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงตามมา นอกจากนี้ตับและไตจะทำงานบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางรายมีเลือดออกตามมาด้วย

คนเราสามารถติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้จากการสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวในร่างกายของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค้างคาวกินผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวแพร่โรคมาสู่คนเมื่อคนติดเชื้อแล้วเชื้อที่ว่าอาจแพร่จากคนไปสู่คนได้และเชื้อยังสามารถติดต่อผ่านทางน้ำอสุจิได้ด้วย สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอีโบล่าหรือไม่ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดอื่นๆ

ไวรัสอีโบลายังไม่มียารักษาอย่างเฉียบขาดแต่มีความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงประมาณ50% ถึง 90%ของผู้ติดเชื้อ และโรคนี้ค้นพบครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณะรัฐประชาธิปไตคองตลอดจนในเขตร้อนแอฟริกาในปี2519 ในปัจจุบันโรคนี้ระบาดอย่างหนักอยู่ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก แถบประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรียซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่าหนึ่งพันคน

อาการของโรคไวรัสอีโบลา
ผู้ป่วยอีโบลามีอาการเริ่มแรกเริ่มขึ้นเฉียบพลันคล้ายไข้หวัดใหญ่ และอาจคล้ายไข้มาลาเรีย หรือไข้เขตร้อนชนิดอื่นๆ กล่าวคือรู้สึกเหนื่อย มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อ กล้ามเนื้อและท้อง นอกจากนี้จะมีอาการอาเจียนท้องร่วงและไม่อยากรับประทานอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอก สะอึก หายใจติดขัดและกลืนอาหารได้ยากลำบากด้วยในบางราย
ส่วนในระยะเลือดออกอาจมีอาการตาแดงและอาเจียนเป็นเลือด พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีอาการบางอย่างของระบบไหลเวียนเลือดรวมถึงเลือดจับลิ่มบกพร่อง ไอเป็นเลือดและอุจจาระเป็นเลือด

สาเหตุโรคไวรัสอีโบลา
โรคไวรัสอีโบลาเกิดได้จากไวรัสสี่ชนิด ได้แก่ ไวรัสบันดิบูเกียว ไวรัสอิโบลา ไวรัสซูดาน และไวรัสปาตาอี

การป้องกันโรคไวรัสอีโบลา
ไวรัสอีโบลาเป็นโรคติดต่อฉะนั้นต้องไม่สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ รวมทั้งเลือดและสารคัดหลั่งจากศพ สำหรับผู้ที่ต้องคลุกคลีกับผู้ป่วยไวรัสอีโบลาต้องสวมเสื้อผ้าป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือ กาวน์ และแว่นตาและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

การรักษาโรคไวรัสอีโบลา

ยังไม่มียารักษาที่จำเพาะสำหรับไวรัสอีโบลาการรักษาทำได้แค่ประคับประคองอาการ รักษาสมดุลของเหลวและอิเล็กโทรไลต์เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การให้สารกันเลือดเป็นลิ่มในการติดเชื้อโดยเร็วเพื่อป้องกันหรือควบคุมภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย การให้สารเร่งเลือดจับลิ่ม(procoagulant)ในการติดเชื้อระยะหลังเพื่อควบคุมเลือดไหล การรักษาระดับออกซิเจน การจัดการความปวดและการใช้ยารักษาโรคเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราทุติยภูมิ อย่างไรก็ตามการรู้ว่าเป็นโรคชนิดนี้และการรักษาแต่เนิ่นๆโอกาสรอดชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นปัจจุบันกำลังมีการศึกษาการรักษาเชิงทดลองอยู่หลังจากเชื้ออีโบลาได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างไปในหลายๆประเทศแถบทวีปแอฟริกา

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

เคล็ดลับวิธีค้นหาเพื่อนเก่าในเฟสบุคหรือสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ

เคล็ดลับล้างเนื้อเค็ม ปลาเค็มให้หายเค็มเร็วๆ