การป้องกันหอยเชอรี่กัดทำลายข้าวในนาโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

หอยเชอรี่ ชื่อฟังแล้วอาจจะดูดีน่ารักแต่สำหรับชาวนาแล้วรู้สึกว่าหอยชนิดนี้ทำตัวไม่น่ารักเอาเสียเลย ตรงกันข้ามกลับทำตัวเกะกะเกเรเพราะชอบกัดกินต้นข้าวของชาวนาเสียหายมานักต่อนักแล้ว หอยเชอรี่จะชอบกัดกินต้นกล้าหรือต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆไปจนกระทั่งต้นข้าวแตกกอโดยเฉพาะต้นข้าวในระยะต้นกล้าที่มีอายุ 10 วันมากที่สุด มันจะเริ่มกัดจากโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดินและจะกัดกินขึ้นมาจนถึงส่วนใบที่อยู่เหนือน้ำจนหมดโดยใช้เวลากัดกินทั้งต้นทั้งใบ 1 ถึง 2 นาทีเท่านั้น แม้ว่าจะมีวิธีแก้ปัญหาหอยเชอรี่กัดกินต้นข้าวกันไปต่างๆนาๆแต่ในที่นี้เราขอนำเสนอภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่มีสารพิษตกค้างหลงเหลืออยู่ในนาข้าวเลย

วิธีที่จะกล่าวถึงก็คือการนำ พญาไร้ใบซึ่งมีลักษณะเป็นพรรณไม้เถาไม่มีใบสูงประมาณ 7-10 เมตรโดยมีกิ่งก้านเป็นข้อๆ แต่ละข้อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตรมีสีเขียวและมีน้ำยางเป็นสีขาวจะออกดอกเป็นกระจุกมีสีขาวอมเขียว ดอกจะออกตรงข้อและตรงปลายกิ่งส่วนเมล็ดหรือผลจะเป็นฝักมีความยาวประมาณ 10-12 และเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้ในบางพื้นที่อาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ที่เชียงใหม่เรียกว่า เคียะจีนพญา ร้อยใบ และทางภาคเหนือจังหวัดอื่นๆอาจเรียกว่า เคียะเทียน เป็นต้น

ส่วนผสม ให้นำพญาไร้ใบมา 3 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร และกากน้ำตาล 0.5 ลิตร

วิธีทำ นำส่วนผสมดังกล่าวมาหมักรวมกันในถังหมักปิดถังแล้วหมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาการหมักให้กรองเอาน้ำมาใช้กำจัดหอยเชอรี่

วิธีใช้ ให้เอาน้ำที่กรองได้เทราดลงไปในนาโดยเทบริเวณข้างๆนาที่อยู่ติดกับคันนาจำนวน 1 ลิตรต่อไร่หรืออาจใช้มากกว่านั้นก็ได้ภายในเวลาไม่นานสามารถกำจัดหอยเชอรี่หมดไปต้นข้าวก็เจริญงอกงามเพราะจะไม่มีหอยเชอรี่มากัดกินอีก นอกจากนี้ไม่มีผลกระทบหรืออันตรายใดๆต่อต้นข้าวเลย

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้อาการปวดแสบร้อนเมื่อพริกเข้าตา

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

วิธีป้องกันและรักษาสิวบนแผ่นหลัง