วิธีป้องกันและรักษาการเป็นตะคริว
ตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายอีกด้วย
เมื่อเราเป็นตะคริวที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะแข็งและหดเกร็งด้วยตัวของมันเองโดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้
ตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุแต่โดยทั่วไปเกิดจากเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
ความจริงตะคริวสามารถหายเองได้ในเวลาไม่นานหากเราอยู่นิ่งๆไม่ขยับเขยื้อนส่วนที่เป็นตะคริว
แต่หากรู้วิธีป้องกันและปฐมพยาบาลที่ถูกต้องก็จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นตะคริวได้ดียิ่งขึ้น
สาเหตุของการเกิดตะคริว
1 เมื่อเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
เช่นเวลาที่เรามีอาการท้องเสีย อาเจียนหรือเสียเหงื่อมากๆทำให้ร่างการสูญเสีย
โซเดียมและโพแทสเซียมไปมากเป็นเหตุให้เกิดตะคริวขึ้นได้
2 เมื่อมีแคลเซียมในเลือดต่ำหรือขาดแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดึงเอาแคลเซียมมาใช้ เช่นในผู้หญิงตั้งครรภ์ระดับแคลเซียมในเลือดจะลดต่ำได้ง่ายก็จะเป็นตะคริวจากสาเหตุนี้มากกว่าปกติ
3 ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
หรือหลอดเลือดแดงตีบตัน
จะทำให้เลือดไหลเวียนไปที่ขาไม่สะดวกเวลาเดินนานๆทำให้เป็นตะคริวได้
กรณีนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ
4 ถ้าดื่มน้ำน้อยจนปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโอกาสเกิดตะคริวก็มีสูงขึ้น
5 การทำงานหนักหรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปหรือผู้ที่เล่นกีฬาออกกำลังกายโดยไม่อบอุ่นร่างกายก่อน
นอกจากนี้หากกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกก็ทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน
6 ถ้านั่ง
นอน
หรือยืนด้วยท่าที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อเป็นเวลานานทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้
7 การหายใจเข้าออกสั้นๆถี่ๆติดกันมากเกินไปทำให้ร่างกายไม่สามารถนำแคลเซียมในเลือดมาใช้ได้ก็ทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้ มักเกิดขึ้นกับนักกีฬาที่เกิดอาการเหนื่อยหรือตื่นเต้นเกินไปทำให้เกิดการหายใจผิดปกติ
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเกิดตะคริว
1 หากเกิดตะคริวที่ต้นขา
ให้เหยียดเข่าให้ตรงแล้วยกเท้าให้พ้นจากพื้นเล็กน้อยพร้อมกับกดปลายเท้าลงด้านล่างให้ทำค้างไว้ประมาณ
1-2 นาที
2 หากเกิดตะคริวที่น่องให้เหยียดเข่าตรงแล้วยกปลายเท้าให้กระดกขึ้นแทนหรือใช้มือเอื้อมไปดึงปลายเท้าเข้าหาตัวด้วยก็ได้
3 หากเกิดที่ส่วนอื่นก็ให้ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริวออกอย่างช้าๆ
ทำแบบนี้ประมาณ 1-2 นาทีจากนั้นปล่อยมือดู หากไม่หายก็ให้ทำซ้ำแบบเดิมอีกจนกว่าอาการจะหมดไป
4 ห้ามบีบนวดแรงๆบริเวณที่เป็นตะคริวเพราะจะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้นและทำให้เกิดการบาดเจ็บอื่นๆตามมาได้ด้วย
5 แต่หากตะคริวหายแล้วให้นวดได้เพราะจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น
ให้ใช้มือนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายลงมาจนถึงข้อเข่า
การป้องกันการเกิดตะคริว
การเกิดตะคริวแม้จะไม่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิตและสามารถหายเองหรือปฐมพยาบาลให้หายได้
แต่หากเกิดขึ้นขณะเรากำลังทำกิจกรรมบางอย่างอยู่ เช่น ว่ายน้ำ ขับรถ หรือควบคุมเครื่องจักรบางชนิดก็เสี่ยงถึงกับชีวิตได้เพราะฉะนั้นการรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวจึงจำเป็นและควรทำอย่างยิ่ง
มาดูวิธีป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวกันครับ
1 ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายกล่าวคือดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8
แก้วเพื่อป้องกันการขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว
2 รับประทานส้มหรือกล้วยเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม
3 ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินอีเป็นประจำ
เช่น ถั่ว น้ำมันพืช เป็นต้น
จะช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและสามารถป้องกันการเกิดตะคริวได้
4 ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม
เช่น นม กุ้งแห้ง ใบมะกรูด งาดำ ถั่วแดงหลวง ช่วยป้องกันตะคริวได้
5 ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำเกลือที่ผสมเองเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปในกรณีที่เกิดอาการท้องเสีย
อาเจียน หรือต้องทำกิจกรรมที่เสียเหงื่อมาก
6 บางคนอาจเป็นตะคริวเวลานอนบ่อยๆซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดให้ดื่มนมก่อนนอนและใช้หมอนรองขาเวลานอนเพื่อยกขาให้สูงขึ้น
7 ให้อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
8 หากเล่นกีฬาเป็นประจำเมื่อเกิดอาการเหนื่อยให้พยายามหายใจเข้าออกยาวๆลึกๆเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
9 ในกรณีผู้ป่วยโรคจิตหรือโรคประสาทจะเกิดตะคริวแบบชักเกร็งซึ่งมักเกิดจากความเครียด ให้แก้โดยให้หายใจในถุงกระดาษเพื่อลดปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายมากเกินไปก็จะช่วยให้หายได้
ส่วนวิธีป้องกันที่ดีในกรณีของตะคริวแบบนี้ควรพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์จะดีที่สุด
เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น