การปั๊มหัวใจ

การปั๊มหัวใจจะทำหลังจากหรือสลับกับการผายปอดหรือเป่าลมเข้าปอดแล้วโดยให้วางมือทั้งสองข้างทับกันในลักษณะแต่ละนิ้วแทรกลงไปกับนิ้วมือด้านล่าง อุ้งมืออยู่ตรงกลางกระดูกอกครึ่งล่างของผู้ป่วย นิ้วแต่ละนิ้ววางบนซี่โครงอกแล้วออกแรงกดลงไปบททรวงอกให้ลึก 4 – 5 เซนติเมตรสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตให้ใช้สันมือข้างเดียวออกแรงกดลึกลงไปแค่ 2 เซนติเมตร และในเด็กเล็กให้ใช้เพียง 2 นิ้วกดลงไป

การกดให้ออกแรงกดประมาณ 15 ครั้งด้วยความเร็ว 60 – 80 ครั้งต่อนาทีสำหรับในผู้ใหญ่ และความเร็ว 80 – 100 ครั้งต่อนาทีสำหรับเด็กโดยให้แรงกดนั้นไปโดนหัวใจเพื่อกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายแต่ควรระวังไม่ให้กดลงไปบนซี่โครงเพราะทำให้ซี่โครงหักได้ และหากวางอุ้งมือไปที่ปลายกระดูกอกก็มีโอกาสทำให้กระดูกอกหักได้เช่นกัน

บางครั้งจะทำสลับกับการผายปอดดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยผายปอด 1 ครั้ง แล้วปั๊มหายใจ 5 ครั้งจนกระทั่งผู้ป่วยหายใจได้เอง ใช้เวลาประมาณ 1 – 3 นาที หรือบางคนอาจมากกว่านั้นหรือทำจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

ให้ตรวจสอบการเต้นของชีพจรด้วยการจับชีพจรที่ข้างคอ 2 ข้างซึ่งเป็นตำแหน่งหลอดเลือดแดงใหญ่ และได้ความชัดเจนกว่าการจับชีพจรที่ข้อมือ ในผู้ใหญ่ชีพจรปกติ 60 – 100 ครั้งต่อนาที หากผู้ป่วยได้รับออกซิเจนพอ ริมฝีปาก ใบหน้าหรือผิวหนังที่เริ่มเขียวก็จะกลับมาเป็นสีปกติ หากเป็นทารกให้จับดูชีพจรที่หลอดเลือดต้นแขนด้านในช่วงกลางไหล่กับศอกโดยใช้เวลาจับชีพจรนาน 5 วินาที

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

เคล็ดลับวิธีค้นหาเพื่อนเก่าในเฟสบุคหรือสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ

เคล็ดลับล้างเนื้อเค็ม ปลาเค็มให้หายเค็มเร็วๆ