สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่3

ขั้นตอนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุ
1 ประการแรกดูการหายใจก่อน เมื่อการหายใจหยุดไป หัวใจยังคงทำงานสูบฉีดโลหิตต่อไปประมาณ 4 – 6 นาทีแล้วจะหยุดส่วนสมองจะทนต่อการขาดออกซิเจนประมาณ 4 – 5 นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นเซลล์สมองจะเสียไปและเสียชีวิตได้ง่าย แต่ถ้าช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตได้แต่เซลล์สมองเสียหายไปมากก็จะมีอาการเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทราได้ ดังนั้นจึงรีบทำให้ผู้ป่วยหายใจทันทีหรือเร็วที่สุด

หากคนไข้ไม่หายใจโดยดูจากการกระเพื่อมของหน้าอกและไม่มีลมหายใจเข้าออก ต้องรีบช่วยชีวิตด้วยการช่วยใส่อากาศซึ่งมีออกซิเจนเข้าไปในปอดของผู้ป่วย โดยการใช้ปากเป่าลมเข้าไปในปากของคนไข้ ถ้าทำไม่สะดวกให้เป่าเข้าทางจมูก โดยเป่าเข้าไปใช้ความเร็ว 20 ครั้งต่อนาทีสลับกับการปั๊มหัวใจจนกระทั่งคนไข้เริ่มหายใจ (ดูรายละเอียดในเรื่องการช่วยหายใจ)

ถ้าผู้ป่วยหายใจครืดคราด หน้าแดง ต้องดูว่ามีอะไรค้างอยู่ในปากหรือจมูกหรือไม่ โดยจัดศีรษะให้เงยขึ้น ให้เอามือข้างหนึ่งจับหน้าผากและอีกข้างหนึ่งชันคางขึ้นจะทำให้ช่องทางเดินหายใจโล่งขึ้นและคลายเสื้อผ้าให้หายใจสะดวก

ถ้าหายใจสม่ำเสมอดีให้ป้องกันการสำลักโดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงกึ่งคว่ำ งอสะโพก งอเข่าพอประมาณ

2 หากขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย โดยเฉพาะสมองขาดเลือดก็ทำให้เซลล์สมองตายได้ เลือดที่เหลืออยู่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ วิธีลดการเสียเลือดกระทำได้โดยหาผ้าสะอาดกดตรงบาดแผลให้แน่นสักระยะหนึ่งหรืออาจใช้ผ้ายืดพันทับปล่อยทิ้งไว้ ถ้าเป็นส่วนแขนหรือขาให้พยายามยกสูงกว่าลำตัว หากเลือดยังออกไม่หยุดให้หาผ้าม้วนขนาดพอดีหรือใหญ่กว่าแผลเลือดออก และให้ลองกดดูอีกทีต้องพยายามกดให้เลือดออกน้อยที่สุด

3 หากเกิดการบาดเจ็บต่อสมองจนหมดสติแต่ยังหายใจได้เองต้องระมัดระวังไม่ให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่ให้มีการสำลัก เพราะจะทำให้ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้

อีกประการหนึ่งหากมีการเคลื่อนย้ายให้ระมัดระวังกระดูกคอของผู้ป่วยให้อยู่นิ่งที่สุด เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีกระดูกคอหักร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ

4 หากกระดูกหักจะมีผลทำให้มีการเสียเลือดมากโดยเฉพาะถ้าส่วนที่หักนั้นอยู่ใกล้เส้นเลือดใหญ่เพราะชิ้นกระดูกอาจบาดเส้นเลือดได้ต้องระวังให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งที่สุด หากมีการบาดเจ็บของกระดูกและข้อต่อให้หาไม้หรือวัสดุที่แข็งแรง เช่น สมุดแข็งมารองส่วนที่หักและพันดามไว้ให้อยู่นิ่งๆ หากไม่มีให้ใช้ม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์หรือม้วนผ้าหนาๆมาดาม

เมื่อทราบอาการผู้บาดเจ็บแล้วให้โทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ และหน่วยกู้ภัย แจ้งเหตุเกิด สถานที่ จำนวนผู้บาดเจ็บ และความรุนแรงของแต่ละราย

เคล็ดลับถัดไป
เคล็ดลับก่อนหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ยางขนุนติดมือ

เคล็ดลับวิธีค้นหาเพื่อนเก่าในเฟสบุคหรือสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ

เคล็ดลับล้างเนื้อเค็ม ปลาเค็มให้หายเค็มเร็วๆ