บทความ

การช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นลม

การเป็นลมมีสาเหตุมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลงเพียงชั่วคราว ซึ่งต่างจากการหมดสติหรือช็อกที่เกิดจากอวัยวะหลายแห่งในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยที่เป็นลมจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ ชีพจรเต้นช้าลงและอาจล้มลงจนหมดความรู้สึกตัวไปชั่วขณะ โดยมีสิ่งกระตุ้นจากการเสียใจมาก อ่อนเพลียมาก ความตกใจกลัวมาก เป็นต้น คนที่เป็นลมช่วงแรกจะมีอาการวิงเวียน ตาพร่ามัว หัวใจสั่น เหงื่อแตก หน้าซีดหรือหน้าแดง ไม่รู้สึกตัว สำหรับลมแดดนั้นเกิดจากร่างกายตากแดดนานจนเหงื่อออกมากแต่ก็ไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้เกิดอาการต่างๆตามมาจนหมดสติในที่สุด โดยทั่วไปการปฐมพยาบาลคนเป็นลมมีวิธีการช่วยเหลือโดยพาผู้ป่วยไปนอนพักในที่อากาศปลอดโปร่ง นอนราบ หน้าตะแคงไปข้างหนึ่งเพื่อป้องกันลิ้นตกไปด้านหลังของลำคอซึ่งทำให้หายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก และควรยกขาขึ้นสูงเล็กน้อย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นให้หลวมสบาย ควรยกปลายเท้าให้สูงขึ้นประมาณ 1 ฟุต เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนลำตัวและศีรษะ ให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดมเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวเร็วขึ้น โบกหรือพัดลมให้ตัวเย็น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวหลายๆครั้งและเมื่อรู้สึกตัวแล

ควรเช็คหม้อน้ำรถยนต์ทุกครั้งก่อนออกเดินทาง

หม้อน้ำรถยนต์เป็นอุปกรณ์คอยทำหน้าที่ควบคุมการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ปกติแล้วเป็นส่วนที่มีอายุการใช้งานนานหลายปีเลยครับแต่ก็บอบบางและชำรุดเสียหายได้ง่ายเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรหมั่นตรวจสอบและดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากหม้อน้ำเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงพอสมควรเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงนับเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องตรวจเช็คหม้อน้ำอยู่เสมอ เพราะหากหม้อน้ำมีปัญหาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดอาการร้อนจัดจนโอเวอร์ ฮีท ที่เห็นอาการง่ายๆคือ ควันขโมงเหมือนไฟไหม้กระโปรงรถนั่นแหละครับทีนี้กระเป๋าสตางค์คุณเจ้าของรถก็จะร้อนเหมือนไฟไหม้ตามไปด้วยเลยล่ะ ความจริงการดูแลรักษาหม้อน้ำสามารถทำได้ไม่ยากเลย โดยการตรวจระดับน้ำทุกวัน สำหรับรถที่อายุการใช้งานนานเกินห้าปีหรืออย่างน้อยๆสัปดาห์ละครั้ง สำหรับรถใหม่ โดยระดับน้ำควรจะอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดีหรือระหว่างกึ่งกลางขีด Max และ Min สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ หากพบว่าน้ำลดต่ำกว่าระดับที่กำหนด ให้เติมน้ำสะอาดลงไป ควรจะเป็นน้ำดื่มดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรกทำให้หม้อน้ำต

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องก่อนออกตัวรถ

หลังจากสตาร์ทรถและก่อนจะออกเดินทางทุกครั้งไม่ควรเบิ้ลเครื่องรถครับ แต่สิ่งที่ควรทำก็คือให้ติดเครื่องทิ้งไว้เฉยๆสัก สองสามนาทีจะดีกว่าเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องให้พร้อมกับการทำงานของรถ เนื่องจากหากเครื่องยนต์ทำงานขณะที่เครื่องยังเย็นอยู่ เช่น ขณะขับรถออกจากบ้านเพื่อไปทำงานในตอนเช้าหรือเมื่อขับรถกลับบ้านหลังเลิกงานในตอนเย็น ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปนกับฟิล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ จนอาจสร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์ได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้เชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมดและไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นอยู่นี้ยังละลายปะปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วอีกด้วย เช่นเดียวกันสำหรับการเบิ้ลเครื่องนั้นเป็นการดึงให้น้ำมันเข้าไปท่วมกระบอกสูบซึ่งทำให้เกิดผลไม่ต่างไปจากการออกรถทั้งที่เครื่องยังเย็นอยู่ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุอีกด้วยครับ ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรทำอีกอย่างนอกจากการเบิ้ลเครื่องแล้วก็คือเมื่อจอดรถทิ้งไว้นานๆอย่าสตาร์ทแล้วออกรถเลยแต่ให้สตาร์ททิ้งไว้สักสองสา

ควรตรวจสอบสภาพรถยนต์เบื้องต้นเป็นประจำทุกวัน

ท่านที่ใช้รถเป็นประจำทุกวันก็ควรตรวจสภาพรถยนต์ของท่านง่ายๆก่อนออกเดินทางทุกเช้าครับ เพื่อให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าพาหนะของท่านสามารถทำงานได้ตามปกติ ขั้นแรกให้ตรวจเช็คสภาพภายนอกแบบง่ายๆก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ คือเพียงแค่เดินดูรอบๆรถ และก้มสำรวจตรวจตรามองใต้ท้องรถว่ามีแอ่งน้ำมันหรือน้ำยาแอร์รั่วนองหรือไม่ คุณสามารถเช็คความดันลมยางอย่างง่ายๆโดยการสัมผัสล้อรถว่ายางเริ่มอ่อนลงจากเดิมหรือไม่ ถึงเวลาเติมลมยางหรือยัง แล้วอาจเปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อเช็คสภาพเครื่องยนต์อีกครั้ง ควรตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ และนำมันเครื่องด้วย หากมีระดับต่ำกว่าที่กำหนดก็ควรจะเติมให้เรียบร้อย ตลอดจนให้ตรวจสอบว่าระบบไฟของรถหลวมหรือไม่เช่นกัน หลังจากนั้นพอติดเครื่องยนต์ก็ควรฟังเสียงเครื่องยนต์อีกครั้งหัดฟังหัดสังเกตว่าเสียงเครื่องยนต์ปกติดีหรือผิดปกติหรือไม่ จากการตรวจสอบสภาพรถเบื้องต้นอย่างง่ายๆด้วยตัวเองก่อนใช้รถโดยอาจใช้เวลาเพียงแค่สองสามนาทีต่อวันก็สามารถป้องกันปัญหาหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพรถยนต์ไม่พร้อมแก่การใช้งานได้แล้วครับ บทความเกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษารถยนต์ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องก่อนออกต

วิธีแก้ไขบานประตูโก่ง เสียงดังและบานพับหลวม

หากบานประตูเริ่มโก่งสามารถแก้ไขได้ที่บานพับ ด้วยการตัดบานพับเพิ่มบริเวณที่ประตูมีความโก่ง พอเวลาผ่านไปสักระยะแรงยึดก็จะสามารถเป็นตัวช่วยยึดดัดประตูให้หายโก่งกลับมาตรงเหมือนเดิม สำหรับบานประตูที่โก่งตรงกลางบาน ก็สามารถดัดได้ด้วยการเอาขอนไม้มาวางให้มีระยะห่างกันเพื่อเป็นฐานแล้วถอดบานประตูออกมาวางบนขอนไม้แล้วหาของที่มีน้ำหนักมาวางทับบริเวณจุดที่มีความโก่งอยู่ ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องวางบานประตูด้านที่โก่งขึ้นด้านบน วางทิ้งไว้โดยใช้เวลาพอสมควร บานประตูก็จะหายโก่งและหายบิดได้ในที่สุด จนสามารถนำไปติดตั้งเข้าที่ได้ดังเดิม ในกรณีที่เวลาเปิดประตูคราใดแล้วมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดน่ารำคาญหูรำคาญใจ ท่านสามารถกำจัดเสียงนี้ได้โดยถอดเดือยของบานพับมาหยอดน้ำมันแล้วเอาใส่กลับที่เดิม เสร็จแล้วให้เปิดและปิดประตูซ้ำหลายๆครั้ง เพื่อให้น้ำมันไหลซึมไปทั่ว เมื่อเดือยบานพับหมดความฝืดแล้วเสียงดังน่ารำคาญดังกล่าวก็จะหายไปเอง หากบานพับประตูหลวมให้ถอดออกมาแก้ไข โดยใช้ไขควงงัดเดือยที่อยู่ด้านบนก่อนให้ด้ามไขควงอยู่ด้านล่าง ปลายไขควงอยู่ใต้หัวเดือย แล้วค่อยๆใช้ค้อนเคาะที่ใต้ด้ามไขควง แล้วจึงค่อยถอดเอาเดือยด้านล่า

การปั๊มหัวใจ

การปั๊มหัวใจจะทำหลังจากหรือสลับกับการผายปอดหรือเป่าลมเข้าปอดแล้วโดยให้วางมือทั้งสองข้างทับกันในลักษณะแต่ละนิ้วแทรกลงไปกับนิ้วมือด้านล่าง อุ้งมืออยู่ตรงกลางกระดูกอกครึ่งล่างของผู้ป่วย นิ้วแต่ละนิ้ววางบนซี่โครงอกแล้วออกแรงกดลงไปบททรวงอกให้ลึก 4 – 5 เซนติเมตรสำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตให้ใช้สันมือข้างเดียวออกแรงกดลึกลงไปแค่ 2 เซนติเมตร และในเด็กเล็กให้ใช้เพียง 2 นิ้วกดลงไป การกดให้ออกแรงกดประมาณ 15 ครั้งด้วยความเร็ว 60 – 80 ครั้งต่อนาทีสำหรับในผู้ใหญ่ และความเร็ว 80 – 100 ครั้งต่อนาทีสำหรับเด็ก โดยให้แรงกดนั้นไปโดนหัวใจเพื่อกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายแต่ควรระวังไม่ให้กดลงไปบนซี่โครงเพราะทำให้ซี่โครงหักได้ และหากวางอุ้งมือไปที่ปลายกระดูกอกก็มีโอกาสทำให้กระดูกอกหักได้เช่นกัน บางครั้งจะทำสลับกับการผายปอด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยผายปอด 1 ครั้ง แล้วปั๊มหายใจ 5 ครั้ง จนกระทั่งผู้ป่วยหายใจได้เอง ใช้เวลาประมาณ 1 – 3 นาที หรือบางคนอาจมากกว่านั้นหรือทำจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง ให้ตรวจสอบการเต้นของชีพจรด้วยการจับชีพจรที่ข้างคอ 2 ข้างซึ่งเป็นตำแหน่งหล

สูตรมะยมเชื่อม

สูตรมะยมเชื่อมมีส่วนผสมและวิธีทำดังต่อไปนี้ครับ ส่วนผสม มะยมผลโตปราศจากรอยช้ำ 2 ถ้วย น้ำตาลทรายขาว 2 ถ้วย น้ำ ½ ถ้วย เกลือ ½ ช้อนชา วิธีทำ ก่อนอื่นให้นำมะยมผลโตเต็มที่สะอาดปราศจากร้อยช้ำใดๆมาล้างให้สะอาดก่อน แล้วคลึงด้วยมือและผสมเกลือป่นเพื่อบีบเอาน้ำมะยมที่มีรสเปรี้ยวออกไปให้หมด นำกระทะทองเหลืองตั้งไฟ เทน้ำผสมน้ำตาลลงไปเชื่อมจนรู้สึกเหนียวแล้วเอามะยมใส่ลงไปเชื่อมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงจนอิ่มน้ำตาล ยกกระทะลงเสร็จแล้วนำมะยมที่เชื่อมได้ไปตากแดดหนึ่งวันแล้วนำมาเก็บใส่ขวดโหลที่ผ่านการต้มให้เดือดแล้ว 15 นาที ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้กินได้นาน เคล็ดลับถัดไป การปั๊มหัวใจ เคล็ดลับก่อนหน้า การดองกะหล่ำปลี