บทความ

การดองกะหล่ำปลี

การดองกะหล่ำปลีสามารถดูส่วนผสมและวิธีการดองได้ดังต่อไปนี้ ส่วนผสม กะหล่ำปลีหั่นเป็นชิ้น 2 ถ้วย น้ำตาลทรายขาว 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 2 ช้อนชา น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย น้ำ 1/3 ถ้วย วิธีทำ นำกะหล่ำปลีมาล้างน้ำให้สะอาดก่อน เสร็จแล้วหั่นเป็นชิ้นหรือหั่นเป็นฝอยก็ได้แล้วแต่ชอบ แล้วจึงน้ำส่วนผสมทั้งหมด (ยกเว้นกะหล่ำปลี) มาต้มรวมกันจนน้ำเดือด หลังจากเดือดแล้วก็ทิ้งไว้ให้เย็นเมื่อเย็นได้ที่แล้วก็ให้เทใส่ขวดโหลแก้วที่บรรจุกะหล่ำปลี ปิดฝาหมักดองทิ้งไว้หนึ่งคืนรุ่งขึ้นก็นำออกมารับประทานได้แล้ว จะได้กะหล่ำปลีดองที่มีรสชาติ เปรี้ยวเค็มนำและอมหวานนิดหน่อย จะนำมารับประทานจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานกับข้าวต้มร้อนๆก็ได้ครับ เคล็ดลับถัดไป สูตรมะยมเชื่อม เคล็ดลับก่อนหน้า สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่4

สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่4

เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินต้องเตรียมไว้เสมอ เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฐมพยาบาลหรือการนำผู้บาดเจ็บส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลในขั้นตอนต่อไป จำเป็นต้องมีไว้ใกล้เครื่องโทรศัพท์ที่บ้านหรือในสมุดโทรศัพท์ประจำตัวถ้าให้ดีก็ควรบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือเลยก็จะได้สะดวกยิ่งขึ้นเวลาต้องการเรียกใช้หรือมีเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนจริงๆ อย่าคิดพึ่งเพียงเบอร์โทรไม่กี่เบอร์เพราะเบอร์ที่มีเพียงไม่กี่เบอร์อาจไม่ว่างก็ได้ ดังนั้นควรบันทึกเบอร์โทรเกี่ยวกับกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินไว้เยอะๆ สำหรับเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่ควรทราบไว้มีดังต่อไปนี้ 1 หน่วยกู้ชีพนเรนทร 1669 2 โทร 191 ทั่วประเทศไทย แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ช่วยประสานเหตุร้ายทุกเรื่องได้ตั้งแต่อาชญากรรม รถเสียกลางทาง ไฟไหม้จนกระทั่งนำส่งผู้ป่วยไปรักษา 3 หน่วยแพทย์กู้ชีพโรงพยาบาลวชิระ 1554 หรือ 2414751 4 โรงพยาบาลตำรวจ 252-1811 ถึง 25 5 หน่วยกู้ชีพนพรัตน์ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี 517-0618 6 คุณหมออาสา จส . 100  โทร 749-4636 7 กรณีจราจรติดขัด ขอทาง จส . 100 โทร 383-9191-9 8 โครงการร่วมด้วยช่วยกัน ของ INN FM 102.5 โท

สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่3

ขั้นตอนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุ 1 ประการแรกดูการหายใจก่อน เมื่อการหายใจหยุดไป หัวใจยังคงทำงานสูบฉีดโลหิตต่อไปประมาณ 4 – 6 นาทีแล้วจะหยุดส่วนสมองจะทนต่อการขาดออกซิเจนประมาณ 4 – 5 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้นเซลล์สมองจะเสียไปและเสียชีวิตได้ง่าย แต่ถ้าช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตได้แต่เซลล์สมองเสียหายไปมากก็จะมีอาการเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทราได้ ดังนั้นจึงรีบทำให้ผู้ป่วยหายใจทันทีหรือเร็วที่สุด หากคนไข้ไม่หายใจโดยดูจากการกระเพื่อมของหน้าอกและไม่มีลมหายใจเข้าออก ต้องรีบช่วยชีวิตด้วยการช่วยใส่อากาศซึ่งมีออกซิเจนเข้าไปในปอดของผู้ป่วย โดยการใช้ปากเป่าลมเข้าไปในปากของคนไข้ ถ้าทำไม่สะดวกให้เป่าเข้าทางจมูก โดยเป่าเข้าไปใช้ความเร็ว 20 ครั้งต่อนาทีสลับกับการปั๊มหัวใจจนกระทั่งคนไข้เริ่มหายใจ (ดูรายละเอียดในเรื่องการช่วยหายใจ) ถ้าผู้ป่วยหายใจครืดคราด หน้าแดง ต้องดูว่ามีอะไรค้างอยู่ในปากหรือจมูกหรือไม่ โดยจัดศีรษะให้เงยขึ้น ให้เอามือข้างหนึ่งจับหน้าผากและอีกข้างหนึ่งชันคางขึ้นจะทำให้ช่องทางเดินหายใจโล่งขึ้นและคลายเสื้อผ้าให้หายใจสะดวก ถ้าหายใจสม่ำเสมอดีให้ป้องกันการสำลั

สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่2

อุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาล อุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลที่ควรเตรียมพร้อมหรือสำรองไว้เสมอได้แก่ 1 แอลกอฮอล์ 70 % 1 ขวด 2 น้ำเกลือปราศจากเชื้อสำหรับล้างแผล 1 ขวด 3 กรรไกรขนาดกลางมีความคม 4 ผ้าก๊อซสำหรับปิดแผลหลายขนาด เช่น 1 นิ้ว 2 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว 5 ผ้าก๊อซชนิดชุบพาราฟิน หลายขนาด สำหรับปิดแผลไฟไหม้ 6 ผ้าทำแผลปลอดเชื้อ 7 สำลีเป็นม้วนนาดเล็ก หรือสำลีแผ่น 1 ถุง ใช้เสริมผ้าพันแผล 8 ผ้ายืดพันแก้เคล็ด ขัดยอก (elastic bandage) ผ้ายืดพันนิ้ว 9 ปลาสเตอร์ยา มีหลายแบบ เช่น ชนิดกันน้ำ ชนิดใส ชนิดผ้า และมีหลายรูปแบบด้วย 10 ไม้พันสำลี 11 เข็มกลัดซ่อนปลาย เทปหรือคลิปสำหรับติดผ้าพันแผล 12 คีมขนาดเล็กปลายแหลมและปลายมน สำหรับดึงหรือคีบเสี้ยนหนาม 13 ปรอทวัดไข้ 14 แผ่นร้อนเย็นสำหรับประคบบรรเทาปวด 15 ผ้าสามเหลี่ยม ขนาด 1x1 เมตร ใช้พันแผลหรือใช้คล้องแขน 16 กล่องใส่อุปกรณ์ปฐมพยาบาล มักขายเป็นชุดใส่ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลบางอย่างมาพร้อม ส่วนมากมักจะทำจากพลาสติกมีความเบาเก็บไว้ใกล้ตู้ยา สิ่งที่ควรทำก่อนปฐมพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ ควรช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างมีหลักเกณฑ์ กล่าว

วิธีซ่อมพรมที่ชำรุด

วิธีซ่อมแซมรอยไหม้เล็กน้อยบนพรม หากพรมมีรอยไหม้เพียงเล็กน้อยสามารถซ่อมแซมได้ โดยเอากรรไกรมาเล็มตัดบริเวณรอยไหม้ของพรมก่อนแล้วนำไม้จิ้มฟันไปจุ่มกับกาวยางเสร็จแล้วเอามาทาที่รอยไหม้ให้ทั่ว ขั้นตอนต่อมาให้เลือกตัดเส้นใยพรมบริเวณใต้บันใดหรือบริเวณที่ไม่ค่อยมีคนเห็น เอากาวยางมาทาที่ปลายเส้นใยพรมและเอาไปติดบริเวณรอยไหม้  ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อกาวแห้งดีแล้วให้ใช้เข็มเย็บผ้าหรือเข็มหมุดเอามาเกลี่ยบนเส้นใยแล้วจัดแต่ให้เส้นใยตั้งขึ้น วิธีซ่อมพรมที่ขาดเป็นรอยใหญ่ หากพรมที่ใช้อยู่มีความเสียหายหรือชำรุดเป็นรอยใหญ่พอสมควร ก็ให้ซ่อมแซมด้วยการตัดแต่งพรมขึ้นใหม่ โดยใช้มีดคัตเตอร์มาตัดพรมส่วนที่ชำรุด ควรใช้มีดที่คมเพราะจะต้องตัดครั้งเดียวให้ขาดเพื่อไม่ให้พรมหลุดลุ่ย เสร็จแล้วนำพรมชิ้นที่ตัดออกมาไปเป็นแบบวัดขนาดโดยให้เส้นทางของพรมเหมือนกัน หากไม่มีพรมสำรองเก็บไว้เลยอาจต้องกลับไปซื้อพรมที่ร้านเดิม เมื่อตัดพรมเรียบร้อยแล้วควรตรวจสอบขนาดให้พอดีแล้วตัดเล็มส่วนที่ลุ่ยออกให้หมด เสร็จแล้วนำกาวยางมาทาใต้แผ่นพรมและรอบๆขอบทั้งสี่ด้านของพรมใหม่ แล้วให้ทากาวยางที่พรมเก่าที่พื้นและขอบพรมเก่า ต่อจากนั้นก็ให้นำพรม

สิ่งจำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลตอนที่1

ยาสามัญประจำบ้าน ควรมียาสามัญประจำบ้านเตรียมพร้อมไว้ในตู้ยาที่เป็นตู้กระจก มองเห็นจากภายนอกได้ว่ามียาอะไรอยู่บ้าง เพื่อเวลาประสบเหตุจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที ซึ่งยาต่างๆได้แก่ 1 ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอลชนิดเม็ดสำหรับผู้ใหญ่และชนิดน้ำสำหรับเด็ก ยาแอสไพริน 2 ยาลดน้ำมูก เช่น คลอร์เฟนิรามีน 3 ยาแก้ไอ เช่น ยาอมมะแว้ง ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม 4 ยาดมแก้วิงเวียน แก้หวัด เช่น ยาหอม แอมโมเนียหอม น้ำมันยูคาลิปตัส 5 ยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซียม ดีเกลือ น้ำมันละหุ่ง ชามะขา ม แขก 6 ยาแก้ท้องอืด เช่น คาร์มิเนตีฟ ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ โซดามินต์ ทิงเ จ อร์มหาหิงคุ์ 7 ยาแก้ท้องเสีย เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาซัลฟากัวนิดีน ยาน้ำเคาลินเปคติน 8 ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ เช่น อะลัมมิลค์ แมกนีเซียมไตรซิลิเกต รานิทิดีน ไซเมทิดีน 9 ยาหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาเจ็บ เช่น โบริกโซลูชั่น 10 ยาหยอดหูแก้หูน้ำหนวก ช่องหูอักเสบ 11 ยากวาดคอ รักษาอาการอักเสบช่องปากและคอ 12 ยาแก้แพ้ ผดผื่นคัน แพ้อากาศ เช่น คลอร์เฟนิรามีน บรอมเฟนิรามีน 13 ยาแก้ปวดเมื่อย เช่น ยาหม่อง ยาน